DATA Trusted POWER
เรื่องที่คุณควรรู้ ก่อนตัดสินใจต่อปลั๊กไฟใช้งานด้วยตนเอง

ปลั๊กไฟนับเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เราหลายคนต่างก็รู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะไม่ใช่เพียงแค่เคยเห็น แต่เรียกได้ว่าใช้กันอยู่ทุกวันแบบจำเป็นต้องนำมาใช้งานนั่นเอง ไหนจะต้องเสียบกับทีวี ตู้เย็น พัดลม ไมโครเวฟ ต่าง ๆ นานานับไม่ถ้วน รวมไปถึงเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่เราขาดไม่ได้ในแต่ละวัน อย่างโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟนด้วยเช่นกัน ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะบอกว่าปลั๊กไฟคืออุปกรณ์ไฟฟ้าอีกหนึ่งชนิดที่ขาดไม่ได้และแต่ละบ้านจะต้องมี และก็มักจะกลายเป็นเรื่องปกติถ้าจะมีการต่อปลั๊กไฟเพิ่มเติมไว้ใช้งาน แต่ก่อนที่คุณจะตัดสินใจต่อปลั๊กด้วยตนเอง มาดูเรื่องสำคัญที่คุณควรรู้ และตระหนักกันก่อนดีกว่า
ต่อปลั๊กไฟต้องรู้จุดประสงค์ของการใช้งาน
1. ใช้สำหรับชั่วคราวเท่านั้น
การต่อปลั๊กเพื่อเพิ่มการใช้งานไฟฟ้าจากจุดเดิมนั้น ย่อมต้องต่อเพื่อเพื่อเสียบจากเต้ารับที่ใช้งานอยู่แล้วอีกทีหนึ่ง ซึ่งเหตุผลที่เรารู้กันดีของการต่อปลั๊กไว้ใช้งานเพิ่มส่วนใหญ่แล้วก็คือ จุดที่เราจะใช้ไฟฟ้านั้นจุดเสียบปลั๊กไม่มี สายเครื่องใช้ไฟฟ้าก็ไม่ถึง หรือปลั๊กที่มีอยู่นั้นไม่พอ แต่คุณต้องรู้ไว้เลยว่าการต่อปลั๊กไฟแบบนี้ควรต่อไว้ใช้งานเพียงชั่วคราวเท่านั้น ไม่เหมาะกับการเสียบเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเสียบแช่ไว้ตลอด หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการกระตุกของไฟฟ้ายู่บ่อย ๆ รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กำลังไฟมาก ๆ ด้วย เช่น ตู้เย็น ไมโครเวฟ เป็นต้น
2. ไม่ต่อแล้วต่ออีก
หลายท่านอาจคิดเอาเองว่าเมื่อสายไฟที่ต่อแล้วไม่ถึงก็แค่ทำปลั๊กไฟต่อไปอีกเรื่อย ๆ จากปลั๊กที่ต่อมาแล้วอีกที หรือแม้แต่การเสียบปลั๊กต่อขึ้นอีกชั้นเพื่อเพิ่มช่องเสียบขึ้นอีก เหล่านี้ถือเป็นความเข้าใจที่ผิดและควรหยุดทำในทันที เพราะอย่าลืมว่าปลั๊กไฟซึ่งเป็นเต้ารับตั้งต้นนั้นต้องรองรับกระแสไฟฟ้าทั้งหมดที่ปลั๊กต่าง ๆ เสียบพ่วงต่อแล้วต่ออีกไปเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน การต่อปลั๊กไฟเช่นนี้จึงอันตรายอย่างมาก
ต่อปลั๊กไฟต้องมีความพร้อมของอุปกรณ์
1. เต้าเสียบ เต้ารับ
เรื่องพื้นฐานที่เหมือนว่าหลายคนจะรู้ แต่เชื่อไหมว่ายังไม่อีกจำนวนมากทีเดียวที่รู้แค่คำเรียกผ่าน ๆ เท่านั้นแต่ยังไม่รู้เลยว่าอันไหนกันแน่คือเต้าเสียบหรือเต้ารับ และแม้ต่อคนที่รู้แล้วก่อนจะเริ่มศึกษาการต่อปลั๊กไฟใช้เองก็ต้องรู้ให้มากกว่าการจำแนกตามชื่อ เพราะทั้งเต้ารับและเต้าเสียบนั้นก็มีแยกประเภทยิบย่อยลงไปอีก เช่น เต้ารับแบบมีสวิทช์ เต้าเสียบแบบมีข้อรองรับการบิดง้อ เป็นต้น
2. ชำรุดหรือไม่
อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการต่อปลั๊กไฟต้องอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน หรือควรซื้อแต่ละชิ้นส่วนใหม่เลยดีกว่า เพราะบางคนก็เลือกนำของเก่ามาใช้ก็เสี่ยงจะเกิดไฟรั่ว ไฟช็อตได้ เช่น สายไฟเก่าขาด เต้ารับมีรอยไหม้ในบางช่องเสียบ เป็นต้น
3. เช็คก่อนใช้
มีอุปกรณ์จำเป็นบางอย่างที่ช่างไฟฟ้าหรือผู้ที่ต่อปลั๊กใช้เองอยู่เสมอมักจะต้องมีกันนั่นคือ เครื่องมือเช็คไฟ หรือไขควงเช็คไฟ คืออุปกรณ์ที่ไว้ใช้ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ที่เราต่อเสร็จแล้วอย่างปลั๊กไฟนั้นมีการชำรุด ไฟฟ้ารั่ว เสถียรสมบูรณ์หรือไม่ เป็นการใช้ตรวจก่อนเสียบต่อไฟใช้งานจริงนั่นเอง เป็นเครื่องมือที่ผู้ต่อปลั๊กไฟใช้เองต้องมีไว้
การต่อปลั๊กไฟใช้เองเหมือนได้ยินกันบ่อยมาก แต่เอาเข้าจริง ๆ แล้วหากคุณไม่ใช่ช่างไฟฟ้า ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน หรือไม่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับไฟฟ้าหรืออุปกรณ์เหล่านี้มาก่อนเลย ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายหรือควรตัดสินใจต่อเองเลยทันทีแค่อ่านข้อมูลผ่าน ๆ หรือดูคลิปวิดีโอจบแล้วทำตาม ควรศึกษาเรียนรู้จากผู้ชำนาญการมาก่อนหลาย ๆ ครั้ง เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง