top of page
  • Writer's pictureDATA Trusted POWER

วิธีการต่อสายไฟปลั๊กอย่างถูกต้องและปลอดภัย อุปกรณ์ที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง?



หากพูดกันถึงเรื่องการซ่อมแซม การต่อเติมต่าง ๆ ก็ถือเป็นวิธีการแก้ปัญหาให้กับข้าวของเครื่องใช้รอบตัวได้อย่างดี และบ่อยครั้งสิ่งของที่ผ่านการซ่อมหรือต่อเติมดัดแปลงนั้นเอง ก็กลายมาเป็นสิ่งที่เราใช้กันอย่างถาวรยาวนานได้อย่างดี และปฏิเสธไม่ได้ว่าการต่อเติมนั้นมักถูกนำมาใช้กับเรื่องของอุปกรณ์หรือเครื่องมือทางไฟฟ้าอยู่เสมอ อย่างที่คุ้นเคยกันได้ทั่วไปก็คือการต่อสายไฟปลั๊ก หรือการต่อพวกปลั๊กพ่วง ปลั๊กเสริมไว้ใช้งานเอง ซึ่งก็อย่างที่เรารู้ ๆ กันอยู่ว่าเรื่องของไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ต้องทำอยู่บนความปลอดภัยและรอบคอบอย่างที่สุด การจะต่อสายไฟปลั๊กหรือเองก็ด้วยเช่นกัน ดังนั้นอุปกรณ์จึงเป็นตัวแปรและปัจจัยสำคัญต่อเรื่องนี้อย่างยิ่ง มาดูกันว่าอุปกรณ์ที่หลัก ๆ ที่ต้องใช้ ต้องเลือกให้ดีมีอะไรบ้าง?


การต่อสายไฟปลั๊กจะขาด “สายไฟ” ไม่ได้


- สายไฟหุ้มฉนวน 2 ชั้น


สายไฟนั้นมีตั้งแต่แบบธรรมดาทั่วไปที่มีแค่เปลือกฉนวนหุ้มทองแดงชั้นเดียวเท่านั้น กับแบบที่เป็นฉนวนหุ้มถึง 2 ชั้น ซึ่งในแบบแรกหรือแบบชั้นเดียวนั้นเป็นแบบยุคแรก ๆ ที่ไม่แนะนำให้เลือกมาใช้ เพราะมีความบาง เสี่ยงต่อการชำรุดและขาดได้ง่าย จึงควรเลือกแบบฉนวนหุ้ม 2 ชั้นจะเหมาะกับการต่อสายไฟปลั๊กมากกว่า


- ขนาดสายไฟ


ซึ่งหากเราลองสังเกตดูสักนิดจะพบว่าสายไฟนั้นมีขนาดที่แตกต่างกันอยู่อย่างหลากหลาย และสามารถทนต่อกระแสไฟฟ้าได้ไม่เท่ากัน จึงไม่ใช่แค่ชนิดของสายไฟเท่านั้นที่มีผลต่อการเลือกนำมาใช้ แต่เรื่องของขนาดสายไฟเองก็เช่นเดียวกัน อาทิ สายขนาด 0.5 sq.mm ทนได้ 7 แอมป์ , 1.0 sq.mm ทนได้ 11 แอมป์ , 1.5 sq.mm ทนได้ 16 แอมป์ เป็นต้น


- สายไฟกับประเภทการใช้งาน


คุณต้องรู้ก่อนว่าจะต่อสายไฟดังกล่าวนี้ไปใช้ในบริเวณใด ใช้ในอาคารหรือนอกอาคาร เพราะจะมีผลต่อการเลือกชนิดของสายไฟ ซึ่งถูกแบ่งประเภทไว้ให้เหมาะกับการใช้ในและนอกอาคารด้วยนั่นเอง ดังนั้นการต่อสายไฟปลั๊กต้องเลือกชนิดและประเภทสายไฟให้ตรงกับความต้องการใช้งานด้วย ทั้งนี้อย่าลืมดูค่า sq.mm ซึ่งเป็นค่าที่บ่งบอกความสามารถในการรองรับกำลังของกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดด้วยว่ามีค่าเท่าไร จะมีระบุไว้ที่ขนาดสายไฟโดยเราได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้า


การต่อสายไฟปลั๊ก อุปกรณ์เหล่านี้ก็ขาดไม่ได้


- เต้าเสียบ เต้ารับ


แน่นอนว่าเราคงไม่ต่อสายไฟไว้เฉย ๆ ดื้อ ๆ แต่เป็นการต่อไว้ใช้งาน ซึ่งนั่นก็หมายความว่าต้องต่อเข้ากับเต้าเสียบ เต้ารับด้วย จึงจะสามารถใช้งานได้ ทั้งนี้เต้าเสียบก็คือส่วนที่เป็นตัวปลั๊กที่เราต้องนำไปเสียบกับเต้ารับอีกทีนั่นเอง


- คีมตัดสายไฟ


เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งที่การต่อสายไฟปลั๊กควรต้องมี เพราะสายไฟมีความแข็ง เหนียว จึงควรตัดให้ขาดในทันที หากใช้เป็นมีด หรือคัตเตอร์ธรรมดาอาจขาดไม่สนิททันทีมีโอกาสชำรุด ขาดรุดรุ่ยได้ง่าย


- ไขควง


อุปกรณ์ที่จะช่วยขันน๊อตในส่วนของเต้ารับและเต้าเสียบเพื่อประกอบกันได้กับขั้นตอนการต่อสายไฟปลั๊กได้อย่างสมบูรณ์พร้อมใช้งานนั่นเอง


- คัตเตอร์


อุปกรณ์ไว้ใช้สำหรับกรีดปลอกฉนวนหุ้มสายไฟออกตามระยะที่ต้องใช้ต่อกับวงจร กลไก การจ่ายไฟของเต้ารับเดิม ซึ่งคัตเตอร์เองก็ควรต้องมีความคมมากพอต่อการกรีดเปลือกหุ้มฉนวนให้ขาดในครั้งเดียวเช่นกัน


- อุปกรณ์เชื่อมต่อ


แน่นอนว่าเมื่อต้องมีการตัด การต่อ การเชื่อมสายให้ติดกัน อุปกรณ์ที่ต้องมีและลืมไม่ได้แน่ ๆ คือ เทปพันสายไฟ ใช้พันสายไฟในตำแหน่งที่ถูกตัดออก เป็นวิธีการต่อวงจรแบบทั่วไป แต่หากต้องการความแข็งแรงและปลอดภัยขึ้นอีกขั้นด้วยการต่อแยบบัดกรีก็ต้องใช้ ตะกั่วเชื่อม และ น้ำยาประสาน เพิ่มเข้ามาด้วย


ที่กล่าวไปข้างต้นนั้นคืออุปกรณ์และเครื่องมือหลัก ๆ ที่สำคัญและควรต้องมีไว้สำหรับการต่อสายไฟปลั๊ก ซึ่งควรเลือกให้ดีก่อนนำมาใช้งาน โดยเฉพาะกับสายไฟ เต้าเสียบ เต้ารับ เหล่านี้ต้องมี มอก. รับรองไว้ที่สินค้าด้วยจึงจะได้มาตรฐานสามารถเลือกซื้อมาใช้งานได้อย่างปลอดภัย

88 views0 comments
bottom of page